วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วัฒนธรรมไทย

     ชาติไทยเป็นชาติที่เก่าแก่และมีวัฒนธรรมประจำชาติที่เกิดจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษและพัฒนาหล่อหลอมขึ้นในสังคมไทย  จนมีความเป็นเอกลักษณ์ของตนเองไม่ว่าจะเป็นภาษา  วรรณคดี  ศิลปวัตถุ  ดนตรี  อาหารและการแต่งกาย  นอกจากนี้  คนไทยยังได้มีการยอมรับเอาวัฒนธรรมของชาติอื่นเข้ามาผสมผสาน  โดยการนำมาดัดแปลงผสมผสานกันได้อย่างกลมกลืน  จนเกิดเป็นวัฒนธรรมของสังคมไทยที่มีเอกลักษณ์ในที่สุด

     ที่มาของวัฒนธรรมไทย

          วัฒนธรรมไทยมีที่มาจากหลายแหล่งกำเนิดด้วยกัน  ดังนี้

1)  สิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์และสังคมเกษตรกรรม  เนื่องจากพื้นที่ของประเทศไทยส่วนใหญ่มีสภาพภูมิศาสตร์เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ  คนไทยจึงมีความผูกพันกับแม่น้ำลำคลอง  ทำให้เกิดวิถีชีวิตริมน้ำและประเพณีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับน้ำที่สำคัญ  เช่น  ประเพณีลอยกระทง  ประเพณีสงกรานต์  เป็นต้น

2)  พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา  พระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้ามาในประเทศไทยเป็นเวลานาน  โดยคนไทยได้นำหลักคำสอนมาใช้ในการดำเนินชีวิต  นอกจากนี้ยังมีประเพณีและพิธีกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอีกเป็นจำนวนมาก  เช่น  การทอดกฐิน  การทอดผ้าป่า  การบวชเพื่อสืบทอดศาสนา  เป็นต้น

3)  ค่านิยม  เป็นแบบอย่างพฤติกรรมของคนในสังคมที่มีความแตกต่างกัน  ค่านิยมบางอย่างกลายเป็นแกนหลักของวัฒนธรรมไทย  เช่น  ความรักชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์  ซึ่งคนไทยให้ความเคารพและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอย่างมาก

                4)  การเผยแพร่และการยอมรับวัฒนธรรมจากต่างชาติ  ในอดีตประเทศไทยได้รับวัฒนธรรมจากจีนและอินเดียเข้ามาผสมผสานกับวัฒนธรรมดั้งเดิม  แต่ในปัจจุบันจากกระแสโลกาภิวัฒน์ทำให้เกิดการหลั่งไหลของวัฒนธรรมต่างชาติเมาในประเทศไทย  โดยเฉพาะวัฒนธรรมที่มาจากชาติตะวันตกที่เห็นได้อย่างชัดเจน  เช่น  การแต่งกายตามแบบสากล  การผูกเนคไท  การสวมเสื้อนอก  การสร้างบ้านเรือนรูปทรงต่าง ๆ เป็นต้น

วัฒนธรรมภาคใต้


ภูมิประเทศของภาคใต้มีเอกลักษณ์เฉพาะ คือมีชายฝั่งประกบเทือกเขาสูงที่อยู่ตรงกลาง ซึ่งไม่มีภูมิภาค อื่นๆ ภูมิประเทศเป็นหลักจึงเป็นเทือกเขาและชายฝั่ง เป็นที่ราบจะมีอยู่เป็นแนวแคบๆ แถบชายฝั่งทะเล และสองฝั่งลำน้ำ การตั้งถิ่นฐานจะอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลทั้งด้านตะวันออกและตะวันตก จากลักษณะทาง ภูมิศาสตร์ของภาคใต้ ทำให้มีคนที่ต่างภาษาต่างวัฒนธรรมอย่างหลากหลายเดินทางเข้ามาภาคใต้มีทั้งชาว พุทธ ชาวมุสลิม ต่างเชื้อชาติกัน เช่น คนไทย คนจีน และผู้ที่มีเชื้อสายมาเลย์ รวมทั้ง ชาวเมือง เช่น ชาวเล อาศัยอยู่กัน วัฒนธรรมภาคใต้จึงมีรูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ดังนั้นภาคใต้จึง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจเพราะมีภูมิศาสตร์ที่งดงาม มีชายฝั้งทะเลและมีวัฒนธรรมหรือการดำรงชีวิต ที่เป็นเอกลักษณ์

วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับประเพณีและพิธีกรรม

ประเพณีชักพระ เป็นประเพณีท้องถิ่นในภาคใต้ตอนกลาง เป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับความศรัทธาในพระ พุทธศาสนา และวิถีชีวิตชาวใต้ที่มีความผูกพันกับน้ำ ประเพณีชักพระหรือลากพระจัดขึ้นในช่วงออกพรรษา โดยเฉพาะในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ด้วยความเชื่อว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากสวรรค์ชั้นดาว ดึงส์ลงมายังโลกมนุษย์ จึงมีการจัดงานเพื่อแสดงความยินดี ประชาชนจึงอัญเชิญพระพุทธองค์ขึ้นประทับ บนบุษบกที่จัดเตรียมไว้ แล้วแห่แหนไปยังที่ประทับ ส่วนใหญ่จะเป็นการจัดขบวนทางเรือ แต่บริเวณใดที่ ห่างไกลแม่น้ำก็จะจัดพิธีทางบก



ประเพณีชักพระ ประกอบด้วยขบวนเรือที่ตกแต่งอย่างงดงาม บน เรือที่มีพระพุทธรูปประทับอยู่บนบุษบกเรียกว่า "เรือประทาน หรือเรือ พนมพระ" ที่หัวเรือมีสายเชือกยาวผูกสำหรับลาก เรือพนมพระนิยม ทำเป็นตัวนาค และบนเรือยังมีพระสงฆ์นั่งมาด้วยพิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า มืด โดยมีการจัดทำสลากและนิมนต์พระวัดต่างๆ มาชักผ้าป่าที่หน้า บ้านที่สลากระบุ หลังจากถวายพุ่มผ้าป่าแล้ว พระผู้ใหญ่ที่ได้รับการ เคารพนับถือจะทำพิธีชักพระ ด้วยการจับปลายเชือกที่อยู่หัวเรือ จาก นั้นก็จะปล่อยให้เรือของชาวบ้านเข้าลากจูง ด้วยเชื่อว่าจะได้บุญมาก เรือจะถูกชักลากไปช้าๆ ตลอดเส้นทาง พร้อมกับการตีกลองประโคม เพื่อให้ชาวบ้านรู้ว่าเรือพนมพระกำลังผ่านมา ชาวบ้านสองฝั่งแม่น้ำ จะออกมาตักบาตรเรียกว่า "ตักบาตรเทโว" เมื่อเรือจอดยังที่ที่กำหนดไว้แล้ว จะอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นประ ดิษฐานบนโรงพิธีสงฆ์ เพื่อทำการสมโภชในวันรุ่งขึ้น วันสุดท้ายจะทำพิธีอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นเรือกลับสู่ วัด หลังเสร็จพิธีทางศาสนาแล้วก็มีงานรื่นเริงของชาวบ้าน คือ "การแข่งเรือยาว" ประเพณีชักพระที่มีชื่อ เสียง คือ ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่มีแม่น้ำตาปีให้ความชุ่มฉ่ำแก่ชาวบ้านมาตั้งแต่อดีต

     เมื่อถึงเช้าตรู่ของวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 จะอาราธนาพระพุทธรูป ขึ้นประดิษฐานบนบุษบกเหนือเรือพระ นิมนต์พระภิกษุในวัดนั้นทั้ง หมดขึ้นนั่งประจำเรือ พร้อมทั้งอุบาสกและศิษย์วัดที่จะติดตาม และ ประจำเครื่องประโคมอันมี โพน (กลองเพล) ฆ้อง โหม่ง ฉิ่งฉาบ แล้ว ชาวบ้านก็จะช่วยกันลากเรือพระออกจากวัด (ภิกษุที่จะร่วมไปด้วย ต้องรับฉันภัตตาหารเช้าให้เรียบร้อยเสียก่อน) ถ้าเป็นลากพระทางน้ำ ก็จะใช้เรือพายลาก ถ้าเป็นการลากพระทางบก ก็จะใช้คนเดินลาก แล้วแต่กรณี ขณะที่ลากเรือพระไป ใครจะมาร่วมแขวนต้มบูชาพระ หรือร่วมลากตอนไหนก็ได้ เกือบทุกท้องถิ่นกำหนดให้มีจุดนัดหมาย เพื่อให้บรรดาเรือพระทั้งหมดในละแวกใกล้เคียง ไปชุมนุมในที่เดียว กันในเวลาก่อนพระฉันเพล ให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาส "แขวนต้ม" และถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสาม เณรได้ทั่วทุกวัด หรือมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โอกาสนี้จึงก่อให้เกิดการประกวดประชันกันขึ้นโดยปริยาย เช่น การประกวดเรือพระ การแข่งขันเรือพาย การเล่นเรือโต้แก้จำกัด การประกวดเรือเพรียวประเภทต่างๆ เช่น มีฝีพายมากที่สุด แต่งตัว สวยงามที่สุด หรือตลกขบขัน หรือมีความคิดริเริ่มดีมี การแข่งขันตี โพนประเภทตีดัง ตีทน ตีท่าพลิกแพลงลีลาการตีสวยงาม เป็นต้น และ บางทีก็มีกิจกรรมแปลกๆ เช่น กีฬาซัดต้ม การประกวดเรือพระ สมัยก่อนมักให้รางวัล เป็นของที่จำเป็นสำหรับวัด เช่น น้ำมันก๊าด กา น้ำ ถ้วยชาม สบง จีวร เสนาสนะสงฆ์ แต่ปัจจุบันรางวัลมักจะให้เป็น เงินสด

     สำหรับในท้องถิ่นจังหวัดปัตตานี การชักพระทางบก ตามที่ผู้เฒ่า ผู้แก่เล่าให้ฟังว่า วัดสุวรรณากร (วัดบ่อทอง) วัดโมลีนิมิตร (วัดหรั่ง) วัดหน้าเกตุ วัดมะกรูด วัดปุราณประดิษฐ์ (วัดบู) วัดมะเดื่องทอง (กา โผะ) วัดสมุทรวารี (ป่าโทะ) วัดโรงวาส และวัดใกล้เคียงในอำเภอ หนองจิก อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี และอำเภอเทพา อำเภอจะ นะ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ได้ชักลากพระวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปตามเส้นทางสู่หน้าที่ว่าการอำเภอโคกโพธิ์ เป็นจุดหมาย ปลายทาง และมีการเฉลิมฉลองกันอย่างสนุกสนาน มีมหรสพให้ชม ตลอดทั้งคืน มีการประกวดเรือพระ รุ่งเช้าจะมีการทำบุญเลี้ยงพระ ตกช่วงบ่ายชักชวนกันลากพระกลับวัด ปัจจุบันประเพณีชักพระอำ เภอโคกโพธิ์ มีการสมโภชและการเฉลิมฉลองกันเป็นเวลา 7 วัน 7 คืน ซึ่งเป็นประเพณีที่ภาคภูมิใจของชาว ไทยพุทธ ส่วนการชักพระทางน้ำ ทุกวัดต้องมีการสร้างพระเรือครัว เรือพายหญิง เรือพายชายตกแต่งประดับ ประดาอย่างสวยงาม และจะมีการลากพระล่วงไปตามลำน้ำยามู สู่ บ้านท่าทราย ใต้ต้นไทรใหญ่ กิ่งไพศาล ริมน้ำยามู รวมหมู่เทียบเรือ พระสมโภชตักบาตร เลี้ยงพระเสร็จแล้ว มีการแข่งขันเรือพายหญิง เรือพายชาย ไล่สาดน้ำกัน เกี้ยวพาราสี ร้องเพลงขับกล่อมตามประ เพณีนิยมท้องถิ่นจนพลบค่ำ ประเพณีลากพระได้ปรับเปลี่ยนเติมแต่ง ต่างออกไปจากเดิมหลายอย่าง เช่น นิยมใช้เรือหางยาวแทนเรือ เพรียว เพราะจากเรือขนาดใหญ่ทำเรือพระได้ยากขึ้น มีการใช้ รถยนต์มาดัดแปลงแทนล้อเลื่อน มีการตกแต่งบุษบกหรือ "นมพระ"ด้วยวัสดุสมัยใหม่ เช่น โฟม กระดาษ พลาสติก หลังคาซ้อนกันเป็น จตุรมุขก็มี บางวัดมีการนำเอากลองยาวมาประกอบขบวนแห่ มีการตั้ง หีบรับเงินอนุโมทนา



วัฒนธรรมภาคกลาง
 
ภาคกลางเป็นภาคที่มีประชาการสูงสุด โดยรวมพื้นที่อันเป็นที่ตั้ง ของจังหวัดมากกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ใช้ภาษากลางในการสื่อความหมายซึ่งกันและกัน วัฒนธรรมไทยท้องถิ่นภาคกลาง ประชาชนประกอบอาชีพทำนา การตั้งถิ่นฐานจะหนาแน่นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีวิถีชีวิตเป็นแบบชาวนาไทย คือ การรักพวกพ้อง พึ่งพาอาศัยกัน มีความเชื่อ และเคารพบุคคลสำคัญผู้ล่วงลับไปแล้ว มีการใช้เครื่องปั้นดินเผาตามชุมชนและหมู่บ้านในชนบท การละเล่นพื้นบ้านที่เป็นลักษณะเด่น ได้แก่ มังคละรำเต้น เต้นกำรำเคียว เพลงปรบไก่ เพลงลำตัด เป็นต้น
นอกจากนี้ในท้องที่จังหวัดเพชรบุรี มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น คือมี ความสามารถในการปลูกสร้างเรือนไทย ความเป็นช่วงฝีมือที่ประณีตในการตกแต่งวัด และช่าง ประดิษฐ์ต่าง ๆ เช่น ช่างทอง ช่างแกะสลักลายไทย ลวดลายปูนปั้นประดับพระสถูปเจดีย์ชนกลุ่มน้อยในท้องถิ่นภาคกลาง มีหลายเผ่าพันธุ์ อาทิ ลาวโข่ง กระเหรี่ยง ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี ลาวพวน ในอำเภอบ้านหมี จังหวัดลพบุรี คนลาว ในเขต จังหวัดเพชรบุรี ปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา มอญ ในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

ความเชื่อเรื่องแม่โพสพ

     คนไทยมีความเชื่อดั้งเดิมเรื่องผีสางเทวดา ชีวิตประจำวันที่ผูกพันอยู่กับอาชีพชาวนา ชาวนาจึงเชื่อว่า ในข้าวมีวิญญาณแม่โพสพ ซึ่งมีบุญคุณต่อชาวนาสิงอยู่ จึงมีการ ปฏิบัติพิธีกรรมเพื่อระลึกถึงแม่โพสพ เช่นการสร้างศาลเพียงตาใน ทุ่งนา เรียกว่า "เรือนแม่โพสพ" มีการทำขวัญข้าวเมื่อข้าวเริ่มออก รวง หรือที่เรียกว่า"ข้าวตั้งท้อง" และนำข้าวอ่อนไปทำบุญถวายพระ ในประเพณีสารทเดือนสิบ ซึ่งมีการกวนข้าวทิพย์หรือข้าวมธุปายาส เมื่อมีการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ก่อนจะนำข้าวเก็บยุ้งฉาง จะมีพิธีบอก กล่าวแม่โพสพ นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่าข้าวเป็นสิ่งที่มีบุญคุณต่อ ชีวิตมนุษย์ จึงได้รับการยกย่องโดยมีคำเรียกช่วงเวลาในสมัยโบราณ เมื่อข้าวตั้งท้องว่า "ตะวันอ้อมข้าว" แสดงให้เห็นความสำคัญของ ข้าวว่า เมื่อตั้งท้องแม้แต่พระอาทิตย์ยังต้องอ้อมข้าว เหมือนที่การ ปฏิบัติกันจนทุกวันนี้ คือ ไม่เหยียบข้าว ไม่ทิ้งข้าว เพราะถือว่าเป็น บาปกรรม

     พิธีกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับข้าว ก็จะเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับความเชื่อเรื่องแม่โพสพ ซึ่งเชื่อว่าเป็นเทพีที่ คอยดูแลรักษาพืชพันธุ์ธัญญาหารต่างๆ ให้อุดมสมบูรณ์ แม่โพสพก็เหมือนกับ มนุษย์ที่ต้องการความเอาใจใส่ เหมือนบุคคลทั่วๆ ไป มนุษย์ต้องคอยดูแลแม่โพสพ
เหมือนดูแลตัวเอง ต้องมีความกตัญญู ต้องเคารพนับถือ มีกิริยาที่สุภาพเรียบร้อย จะพูดจาหยาบคายหรือพูดเสียงดังไม่ได้ แม่โพสพเป็นคนขวัญอ่อน เพราะถ้าเกิด ไม่พอใจจะหนีไปเลย และตามประวัติเคยหนีไปหลายครั้ง ด้วยความน้อยใจเวลามี คนพูดเสียงดัง พอหนีไปทีก็อดอยากกันเป็นพันปี เพราะฉะนั้นอันนี้เป็นสิ่งที่ต้อง ระมัดระวังมาก เวลาติดต่อกับแม่โพสพควรใช้ความสุภาพอ่อนโยน และความกตัญ ญูกตเวทีอย่างสูงที่สุด

    พิธีกรรมเกี่ยวกับแม่โพสพก็มีขั้นตอนต่างๆ พิธีในภาคกลางจะเห็นว่า จะดำนาจะ ไถอะไรก็ต้องเชิญแม่โพสพมาก่อน ตั้งแต่ข้าวเริ่มตั้งท้องก็ต้องไปเอาอกเอาใจหา อาหารเปรี้ยวหวานมันเค็มไปบูชาแม่โพสพ หรือว่าเมื่อเสร็จแล้วจะนวดจะเอาข้าวเข้ายุ้ง ทุกอย่างนี้จะต้องมี พิธีกรรมเข้าไปประกอบ เพื่อก่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ หรือความมั่นใจว่าปีนี้มีข้าว และปีหน้าต้องมีนะ หรือว่าพันธุ์ข้าวที่มีต้องเก็บไว้และทำอย่างไร? ให้เก็บได้ดี ไม่เสียไม่หาย เพื่อที่จะใช้เป็นพันธุ์ในปีต่อไป ลักษณะของพิธีกรรมเรื่องข้าว ส่วนใหญ่ก็จะเกี่ยวข้องกับการที่จะพยายามเอาอกเอาใจขวัญของข้าว โดยมี แม่โพสพเป็นตัวแทน

    การทำพิธีกรรมเกี่ยวกับข้าว นอกจากในสังคมที่เป็นบ้านเป็นเมือง อย่างสังคมไทย แล้วจะเห็นว่าในสังคมอื่นๆ ที่ยังไม่ได้พัฒนาเป็น บ้าน เป็นเมือง การทำไร่ ทำนา ก็มีพิธีกรรมเหมือนกัน ในการที่จะดู แลข้าวของตัวเอง อย่างเช่นในกลุ่มชาวเขาก็มีพิธีกรรมเวลาปลูก ข้าวไร่ เขาจะมีวันไหนที่จะไปเผาไร่ได้ วันไหนเผาไม่ได้ เวลาข้าว ตั้งท้อง ต้องรู้ว่าจะทำอย่างไร เขาถือว่าช่วงข้าวตั้งท้อง หรือช่วงข้าว
เกี้ยวพาราสี เขาจะบอกว่าห้ามไปไร่ในช่วงนั้น เพราะว่าข้าวกำลัง เกี้ยวพาราสีกัน หรือเวลาข้าวตั้งท้อง ก็จะต้องหาเงินไปผูกเอาไว้ ต้องผูกเตี้ยๆ ด้วย เพราะว่าแม่ข้าวเขาตัวเตี้ย จะได้เก็บเงินไปได้ ถ้า เกิดไม่เอาเงินหรือเอากระดาษไป ผูกเป็นรูปเงินให้แล้วอาจจะไม่ดลบันดาลให้ข้าวอุดมสมบูรณ์ก็ได้ ฉะนั้น ในกลุ่มทุกกลุ่ม หรือแม้แต่พวกขิ่นก็มีความเชื่อเรื่องการปลูกข้าวเหมือนกัน ก่อนการปลูกข้าวก็มีการสร้างตูบ ผีเอาไว้เชิญผี ซึ่งเคยอยู่ที่ท้องนาขึ้นมาอยู่บนตูบ เวลาจะไถจะได้ไม่รังควานผี มีการเซ่นไหว้ เวลาจะหยอด ข้าวก็ต้องเรี่ยไรเงินมาซื้อหมู ฆ่าหมูมาเซ่นผี มาเอาใจผีอีก เพราะว่าถ้าผีไม่พอใจ ปลูกข้าวแล้วจะมีผลเสีย หรือถ้าหากว่าจะทำสู่ขวัญข้าวก็ต้องทำพิธีเลี้ยงผีอีก ก็ต้องไปซื้อสัตว์เรี่ยไรกันเอาเงินมาฆ่า เอาสัตว์มา สังเวยและจะปิดตาเหลวเอาไว้


    "ตาเหลว" เป็นสัญลักษณ์ของการป้องกันและบอกขอบเขตไม่ให้สัตว์ ป่าต่างๆ มาทำลายข้าวในไร่ จะเห็นว่ามีกฎหมายลงโทษคนที่ไปทำมิดี มิร้าย ไปขี้ไปเยี่ยว ช้าง ม้า วัว ควาย ไปละเมิดทำให้ไร่นาข้าวปลาเสีย หาย มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่าให้ทำบัตรพลีดีไหว้ หรือว่าต้องเซ่นไหว้ เพราะไม่ใช่เพียงแต่ว่าเป็นการลงโทษ คนที่ละเมิดทำข้าวเสียหายเท่า นั้น แต่ว่าเป็นลักษณะของความอุบาทว์หรือสิ่งที่ทางเหนือ อาจเรียกว่า "ขึด" คือถ้าเผื่อว่าทำแล้ว มันเสียหายแก่ท้องนาแก่ข้าว แล้วไม่ใช่เพียง แต่ว่าคนคนนั้นหรือเจ้าของนาจะเดือดร้อน แต่ว่าจะก่อให้เกิดความ อุบาทว์ หรือวิปริตไปทั้งหมดได้ เพราะฉะนั้นเพื่อกันความเสียหายของ ชุมชน จะต้องทำการบัตรพลีดีไหว้ อันนี้เป็นกฎหมายตราไว้เลย

วัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีที่ชาวอีสานจัดขึ้นในเดือน 6 เรียกกันว่า "บุญเดือนหก" มีจุดมุ่งหมายเพื่อ เป็นงานรื่นเริงครั้งใหญ่ก่อนการเริ่มทำนา และเป็นการสร้างกำลังใจว่าการทำนาในปีนั้นจะได้ผลดี โดยมี ความเชื่อว่าเทวดาคือ "พระยาแถน" สามารถบัลดาลให้พืชผลในท้องนาอุดมสมบูรณ์ หากบูชาเซ่นสรวงให้ พระยาแถนพอใจก็จะช่วยให้ฝนตกตามฤดูกาล การทำนาได้ผลธัญญาหารบริบูรณ์ โดยเฉพาะถ้าหมู่บ้านใคร ทำบุญบั้งไฟติดต่อกันทุก 3 ปี




 ประเพณีบุญบั้งไฟตามตำนานเล่าว่า เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าถือชาติกำเนิดเป็นพญาคางคกได้อาศัยอยู่ใต้ ร่มโพธิ์ใหญ่ในเมืองพันทุมวดี ด้วยเหตุใดไม่แจ้ง พญาแถนเทพเจ้าแห่งฝนโกรธเคืองโลกมนุษย์มากจึง แกล้งไม่ให้ฝนตกนานถึง 7 เดือน ทำให้เกิดความลำบากยากแค้นอย่างแสนสาหัสแก่มวลมนุษย์ สัตว์และ พืช จนกระทั่งพากันล้มตายเป็นจำนวนมากพวกที่แข็งแรงก็รอดตายและได้พากันมารวมกลุ่มใต้ต้นโพธิ์ใหญ่ กับพญาคางคก สรรพสัตว์ทั้งหลายจึงได้หารือกันเพื่อจะหาวิธีการปราบพญาแถนที่ประชุมได้ตกลงกันให้ พญานาคยกทัพไปรบกับพญาแถน แต่ก็ต้องพ่ายแพ้จากนั้นจึงให้พญาต่อแตนยกทัพไปปราบแต่ก็ต้องพ่าย แพ้อีกเช่นกัน ทำให้พวกสรรพสัตว์ทั้งหลายเกิดความท้อถอย หมดกำลังใจและสิ้นหวัง ได้แต่รอวันตาย

ในที่สุด พญาคางคกจึงขออาสาที่จะไปรบกับพญาแถน จึงได้วางแผนในการรบโดยปลวกทั้งหลายก่อ จอมปลวกขึ้นไปจนถึงเมืองพญาแถน เพื่อเป็นเส้นทางให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายได้เดินทางไปสู่เมือง พญาแถน ซึ่งมีมอด แมลงป่อง ตะขาบ สำหรับมอดได้รับหน้าที่ให้ทำการกัดเจาะ ด้ามอาวุธที่ทำด้วยไม้ทุก ชนิด ส่วนแมลงป่องและตะขาบให้ซ่อนตัวอยู่ตามกองฟืนที่ใช้หุงต้มอาหาร และอยู่ตามเสื้อผ้าของไพร่พล พญาแถนทำหน้าที่กัดต่อย หลังจากวางแผนเรียบร้อย กองทัพพญาคางคกก็เดินทางเพื่อปฏิบัติหน้าที่การ รบ มอดทำหน้าที่กัดเจาะด้ามอาวุธ แมลงป่องและตะขาบกัดต่อยไพร่พลของพญาแถนจนเจ็บปวด ร้องระงม
จนกองทัพระส่ำระสาย ในที่สุดพญาแถนจึงได้ยอมแพ้และตกลงทำสัญญาสงบศึกกับพญาคางคก ดังนี้

ถ้ามวลมนุษย์จุดบั้งไฟขึ้นสู่ท้องฟ้าเมื่อใด ให้พญาแถนสั่งให้ฝนตกในโลกมนุษย์
ถ้าได้ยินเสียงกบ เขียดร้อง ให้รับรู้ว่าฝนได้ตกลงมาแล้วถ้าได้ยินเสียงสนู (เสียงธนูหวายของว่าว) หรือเสียงโหวด ให้ฝนหยุดตก เพราะจะเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยว ข้าว หลังจากที่ได้สัญญากันแล้ว พญาแถนจึงได้ถูกปล่อยตัวไปและได้ปฏิบัติตามสัญญามาจนบัดนี้

ในการทำบั้งไฟนั้นชาวบ้านทั้งในหมู่บ้านเดียวกันและหมู่บ้านใกล้เคียง จะมารวมกันแล้วแบ่งเป็นกลุ่มๆ ละ 5-10 ครัวเรือน ทำบั้งไฟ 1 กระบอก บั้งไฟ คือกระบอกไม้ไผ่บรรจุดินปืน สำหรับจุดให้ติดไฟพุ่งขึ้นไป บนท้องฟ้า ชาวบ้านจะตกแต่งบั้งไฟให้สวยงามด้วยการแกะรูปลายเป็นรูปลายไทย หรือสุพรรณหงส์ หรือนำ ผ้าไหมมาทอลายต่างๆ มาประดับในงานบุญบั้งไฟ ในพิธีต่างๆ เช่น วันแรกของงานแรกว่า "วันโฮม" หรือวัน รวมชาวบ้านจะมาทำบุญที่วัด มีการแห่และประกวดบั้งไฟ วันที่สองแรกวันจุดหรือวันจุดบั้งไฟ โดยแห่บั้งไฟ ออกไปกลางทุ่งนา วางบั้งไฟไว้บนกิ่งไม้ที่ใหญ่และแข็งแรง จากนั้นก็จุดบั้งไฟ ถ้าบั้งไฟของใครจุดติดและ พุ่งขึ้นสูง นายช่างผู้ทำบั้งไฟจะได้รับการรดน้ำจากชาวบ้านเป็นการแสดงความยินดี ถ้าบั้งไฟใครจุดไม่ติด หรือพุ่งไม่สูง นายช่างก็จะถูกจับโยนลงในน้ำขุ่นที่มีโคลนเลน หลังจากเทศกาลบุญบั้งไฟผ่านไปแล้วชาว บ้านก็จะเริ่มลงมือทำนา ประเพณีบุญบั้งไฟที่มีชื่อเสียงมาก คือที่จังหวัดยโสธร

พิธีกรรม
    
เนื่องจากงานประเพณีผีตาโขน เป็นงานบุญใหญ่ซึ่งเรียกกันว่า "งานบุญหลวง" จัดขึ้นที่วัดโพนชัย อ.ด่านซ้าย โดยมีการละเล่นผี ตาโขน มีการเทศน์มหาชาติ มีการทำบุญพระธาตุศรีสองรัก และงาน บุญต่างๆ เข้า มาผสมอยู่รวมๆ กัน จึงมีการจัดงานกัน 3 วัน

วันแรก  เริ่มพิธีตอนเช้า 04.00-05.00 น. คณะแสนหรือข้าทาส บริวารของเจ้าพ่อกวนจะนำอุปกรณ์ มีด ดาบ หอก ฉัตร พานดอกไม้ ธูปเทียน ขันห้าขันแปด (พานดอกไม้ 5 คู่ หรือ 8 คู่) ถือเดินนำ ขบวนไปที่ริมแม่น้ำหมัน เพื่อนิมนต์พระอุปคุตต์ พระผู้มีฤทธานุภาพมาก และมักเนรมิตกายอยู่ในมหาสมุทร เพื่อป้องกันภัยอันตราย และให้เกิดความสุขสวัสดี เมื่อถึงแล้วผู้อัญเชิญต้องกล่าวพระคาถา และให้อีกคนลง

ไปในน้ำ งมก้อนหินใต้น้ำขึ้นมาถามว่า ใช่พระอุปคุตต์หรือไม่ผู้ที่ยืนอยู่บนฝั่งตอบว่า ไม่ใช่พอก้อนหิน ก้อนที่ 3 ให้ตอบว่า ใช่ นั่นแหละพระอุปคุตต์ที่แท้จริงเมื่อได้พระอุปคุตต์มาแล้ว ก็นำใส่พานแล้วนำขบวน
กลับที่หอพระอุปคุตต์ ทำการทักขิณาวัฏ 3 รอบ มีการยิงปืนและจุดประทัด ซึ่งช่วงเวลานั้นบรรดาผีตาโขนที่
นอนหลับหรืออยู่ตามที่ต่างๆ ก็จะมาร่วมขบวนด้วยความยินดีปรีดา เต้นรำเข้าจังหวะกับเสียงหมากกระแหล่ง ซึ่งเป็นกระดิ่งผูกคอวัว หรือกระดิ่งให้ดังเสียงดัง

วันที่สอง  เป็นพิธีแห่พระเวส ในขบวนประกอบด้วย พระพุทธรูป 1 องค์ พระสงฆ์ 4 รูป นั่งบนแคร่หามตาม ด้วยเจ้าพ่อกวนนั่งอยู่บนกระบอกบั้งไฟ ท้ายขบวนเป็นเจ้าแม่นางเทียม กับบริวาร ชาวบ้านและเหล่าผีตา โขนเดินตามเสด็จไปรอบเมือง ก่อนตะวันตกดิน สำหรับคนที่เล่นเป็นผีตาโขนใหญ่ ต้องถอดเครื่องแต่งกาย ผีตาโขนใหญ่ออกให้หมด และนำไปทิ้งในแม่น้ำหมัน ห้ามนำเข้าบ้าน เป็นการทิ้งความทุกข์ยาก และสิ่งเลว ร้ายไป รอจนปีหน้าฟ้าใหม่แล้วค่อยทำเล่นกันใหม่

วันที่สาม  เป็นการรวมเอางานบุญประเพณีประจำเดือนต่างๆ ของปี มารวมกันจัดในงานบุญหลวง ประชาชน จะมานั่งฟังเทศน์มหาชาติ 13 กัณฑ์ ที่วัดโพนชัย เพื่อเป็นการสร้างกุศลและเป็นมงคลแก่ชีวิต

งานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน ถือเป็นงานที่แสดงออกถึงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านอันดี งาม ที่เป็นเอกลักษณ์ของอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย
ผีตาโขนจะแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
1.ผีตาโขนใหญ่
2.ผีตาโขนเล็ก

ผีตาโขนใหญ่  จะสานมาจากไม้ไผ่ มีขนาดใหญ่กว่าคนประมาณ 2 เท่า แล้วจะประดับตกแต่งหน้าตาด้วยเศษวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น ใน การทำผีตาโขนใหญ่ในแต่ละปีจะทำ 2 ตัว คือ ชาย 1 ตัว และหญิง อีก 1 ตัวเท่านั้น ผู้ที่มีหน้าที่ทำผีตาโขนใหญ่ จะต้องได้รับอนุญาต จากผีหรือเจ้าก่อน และเมือได้รับอนุญาตแล้ว ต้องทำผีตาโขนใหญ่ ทุกๆ ปี หรือต้องทำติดต่อกันอย่างน้อย 3 ปี เพราะว่าคนที่ไม่ได้รับ อนุญาตก็จะไม่มีสิทธิ์ทำผีตาโขนใหญ่ เวลาแห่จะต้องมีคนเข้าไปอยู่


วัฒนธรรมภาคเหนือ

ภาคเหนือมีลักษณะเป็นเทือกเขา สลับกับที่ ราบ ผู้คนจะกระจายตัวอยู่เป็นกลุ่ม มีวิถีชีวิต และขนบธรรมเนียมเป็นของตนเอง แต่ก็มีการ ติดต่อระหว่างกัน วัฒนธรรมของภาคเหนือหรือ อาจเรียกว่า "กลุ่มวัฒนธรรมล้านนา" ซึ่งเป็น วัฒนธรรมเก่าแก่และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้ง สำเนียงการพูด การขับร้อง ฟ้อนรำ หรือการจัด งานฉลองสถานที่สำคัญที่มีแต่โบราณ เช่น พระธาตุดอยสุเทพ วัดเจดีย์หลวง เป็นต้น

 วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับศาสนา ความเชื่อ

     
         ความเชื่อเกี่ยวกับการนับถือผี ชาวเหนือหรือที่เรียกกันว่า"ชาวล้านนา"มีความเชื่อในเรื่องการนับถือผีตั้งแต่เดิม โดย เชื่อว่าสถานที่แทบทุกแห่ง มีผีให้ความคุ้มครองรักษาอยู่ ความเชื่อนี้จึงมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เห็นได้ จากขนบธรรมเนียม ประเพณี และพิธีกรรมต่างๆ ของชาว เหนือ เช่น ผู้เฒ่าผู้แก่ชาวเหนือ (พ่ออุ๊ยแม่อุ๊ย) เมื่อไปวัดฟัง ธรรมก็จะประกอบพิธีเลี้ยงผี คือ จัดหาอาหารคาว-หวานเซ่น สังเวยผีปู่ย่าด้วย

ผีที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของชาวล้านนา เช่น
1.ผีบรรพบุรุษ มีหน้าที่คุ้มครองเครือญาติและครอบครัว
2.ผีอารักษ์ หรือผีเจ้าที่เจ้าทาง มีหน้าที่คุ้มครองบ้านเมืองและชุมชน
3.ผีขุนน้ำ มีหน้าที่ให้น้ำแก่ไร่นา
4.ผีฝาย มีหน้าที่คุ้มครองเมืองฝาย
5.ผีสบน้ำ หรือผีปากน้ำ มีหน้าที่คุ้มครองบริเวณที่แม่น้ำสองสายมาบรรจบกัน
6.ผีวิญญาณประจำข้าว เรียกว่า เจ้าแม่โพสพ
7.ผีวิญญาณประจำแผ่นดิน เรียกว่า เจ้าแม่ธรณี
คนล้านนามีความผูกพันเกี่ยวเนื่องอยู่กับการนับถือผี สามารถพบเห็น ได้จากการดำเนินชีวิตประจำวันของคนเมืองเอง เช่น เมื่อเวลาที่ต้องเข้า ป่าไปหาอาหาร หรือต้องค้างพักแรมอยู่ในป่า มักจะต้องบอกกล่าวเจ้าที่ เจ้าทางเสมอ และเมื่อเวลาที่กินข้าวในป่า ก็มักจะแบ่งอาหารให้เจ้าที่ด้วย เช่นกัน นอกจากนั้นเมื่อเวลาจะอยู่ ที่ไหนก็ตามไม่ว่าจะอยู่ในเมืองหรือใน ป่า เมื่อเวลาที่ต้องถ่ายหรือปัสสาวะ ก็มักจะต้องขออนุญาตจากเจ้าที่ก่อน อยู่เสมอ เหล่านี้แสดงให้เห็นว่าวิถีชีวิตของคนเมืองผูกผันอยู่กับการนับ ถือผี
 การเลี้ยงผีของคนล้านนาจะอยู่ในช่วงระหว่างเดือน 4 เหนือ จน ถึงเดือน 8 เหนือ ช่วงเวลานี้เราจะพบว่าตามหมู่บ้านต่างๆ ในภาค เหนือจะมีการเลี้ยงผีบรรพบุรุษกันอย่างมากมาย เช่น ที่อำเภอเชียง คำ จังหวัดพะเยา ก็จะมีการเลี้ยงผีเสื้อบ้านเสื้อเมือง ซึ่งเป็นผีบรรพ บุรุษของชาวไทลื้อ พอหลังจากนี้อีกไม่นานก็จะมีการเลี้ยงผีลัวะ หรือ ประเพณีบูชาเสาอินทขิล ซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่ของคนเมือง และยัง ไม่นับรวมถึงการ เลี้ยงผีมด ผีเม็ง และการเลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะของ ชาวลัวะ ซึ่งจะทยอยทำกันต่อจากนี้

     ในช่วงกลางฤดูร้อนจะมีการลงเจ้าเข้าทรงตามหมู่บ้านต่างๆ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะความเชื่อของชาวบ้านที่ ว่า การลงเจ้าเป็นการพบปะพูดคุยกับผีบรรพบุรุษ ซึ่งในปีหนึ่งจะมีการลงเจ้าหนึ่งครั้ง และในการลงเจ้าครั้ง นี้ จะถือโอกาสทำพิธีรดน้ำดำหัวผีบรรพบุรุษไปด้วย ยังมีพิธีเลี้ยงผีอยู่พิธีหนึ่งที่มักจะกระทำกันในช่วงเวลา นี้ และที่สำคัญในปีหนึ่งจะทำพิธีนี้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น นั่นก็คือ "การเลี้ยงผีมดผีเม็ง" ชาวบ้านที่ประ กอบพิธีนี้ขึ้นบอกว่า การเลี้ยงผีมดผีเม็งจะเลี้ยงอยู่ 2 กรณี คือ เมื่อเวลามีคนเจ็บป่วย ไม่สบายในหมู่บ้าน จะ ทำพิธีบนผีเม็ง เพื่อขอใช้ช่วยรักษา เมื่อเวลาที่หายแล้วจะต้องทำพิธีเชิญวิญญาณผีเม็งมาลง และจัดหา ดนตรีมาเล่น เพื่อเพิ่มความสนุกสนานแก่ผีมด ผีเม็งด้วย อีกกรณีหนึ่งเมื่อไม่มีคนเจ็บป่วยในหมู่บ้านจะต้อง ทำพิธีเลี้ยงผีมดผีเม็งทุกปี โดยจะต้องหาฤกษ์ยามที่เหมาะสม และจะต้องกระทำระหว่างช่วงเวลาเดือน 4 เหนือ ถึงเดือน 8 เหนือ ก่อนเข้าพรรษา เพราะถ้าไม่ทำพิธีผีมดผีเม็งอาจจะไม่คุ้มครองคนในหมู่บ้านก็ได้ ดัง นั้นเมื่อใกล้ถึงช่วงเวลาดังกล่าว เรามักจะพบภาพพิธีเหล่านี้ตามหมู่บ้านต่างๆ